วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

กลไกราคา

ราคาสินค้า คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการทำการผลิตได้และนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เช่น นาย ก. ผลิตปากกาออกขายให้แก่นักเรียนในราคาด้ามละ 5 บาท เป็นต้น ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งการผลิตการบริโภคส่วนใหญ่เป็นเรื่องของภาคเอกชน โดยผ่านกลไกของราคานั้น ราคาสินค้าและบริการจะทำหน้าที่ 3 ประการ คือ


กำหนดมูลค่าของสินค้า ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ใช้เงินเป็นสื่อกลาง ราคาจะทำหน้าที่กำหนดมูลค่า เพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าในมูลค่าที่คุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เขาจะต้องเสียไป ราคาสินค้าบางแห่งก็กำหนดไว้แน่นอนตายตัว แต่บางแห่งก็ตั้งไว้เผื่อต่อ เพื่อให้ผู้ซื้อต่อรองราคาได้

กำหนดปริมาณสินค้า ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันนั้นถ้าสินค้ามีราคาถูก ผู้ซื้อจะซื้อปริมาณมากขึ้นส่วนผู้ขายจะเสนอขายในปริมาณน้อยลง แต่ถ้าสินค้ามีราคาแพงผู้ซื้อจะซื้อปริมาณน้อยลงส่วนผู้ขายจะขายในปริมาณมากขึ้น ราคาจึงเป็นตัวกำหนดปริมาณสินค้าที่จะซื้อขายกัน

กำหนดปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเอกชนนั้น จะมีปัญหาว่าผู้ผลิตควรจะผลิตในปริมาณสักเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้เขาได้กำไรสูงสุดตามที่ต้องการ โดยสังเกตความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ของสินค้าที่เราทำการผลิตในระดับราคาต่างๆ กันเพื่อหา ดุลยภาพ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะทำการซื้อขายกันในปริมาณและราคาที่ตรงกัน ปริมาณที่มีการซื้อขาย ณจุดดุลยภาพ เรียกว่า ปริมาณดุลยภาพ และผู้ซื้อมีความต้องการซื้อ ส่วนราคาที่ดุลยภาพ เรียกว่า ราคาดุลยภาพ อันเป็นราคาที่ผู้ผลิตควรพิจารณาในการตั้งราคาขาย

กลไกราคา (price mechanism) หมายถึง ตัวกำหนดการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจทีมีปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคา คือ อุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply)

อุปสงค์ (Demand) คือ ปริมาณความต้องการซิ้อสินค้าและบริการของผู้ซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน ความต้องการซื้อจะแตกต่างจากความต้องการทั่วไป (want) แต่จะต้องรวมอำนาจซื้อ (purchasing power) คือ เต็มใจและมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายซื้อสินค้านั้นด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณความต้องการซื้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยกำหนดอุปสงค์ตัวอื่นๆ เปลี่ยนแปลงด้วย เช่น รายได้ของผู้ซื้อ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น

อุปทาน (supply) คือ ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กันโดยผู้ขายเต็มใจจะขาย กล่าวคือ ถ้าราคาต่ำปริมาณที่เสนอขายก็จะลดต่ำลงด้วย และใน่ทางตรงกันข้าม หากระดับราคาสูงขึ้นก็จะมีปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม กฎของอุปทาน (Law of Supply) ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต ราคาของปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล การคาคคะเนราคาสินค้าและบริการของผู้ขาย

ตลาด ตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ จะกว้างกว่าความหมายทั่ว ๆ ไปที่เป็นสถานที่ที่มีผู้ขายจำนวนมากนำสินค้ามาวางขาย แต่ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์จะเกิดขึ้นทันที่ที่มีการตกลงซื่อขายกัน ต่อรองราคาหรือมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่จำเป็นต้องมีสินค้าและบริการปรากฏอยู่ ณ สถานที่นั้น

องค์ประกอบของตลาดจะประกอบด้วย ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า และ ราคา ซึ่งอาจจะมีพ่อค้าคนกลางร่วมด้วย ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารได้ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยอาศัยคนกลางน้อยลง นอกจากนี้ความสะดวกสบายรวดเร็วของสื่อที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าก็ทำได้คล่องตัวขึ้น เช่น ระบบเครดิต เป็นต้น

ระบบตลาดขึ้นอยู่กับกลไกราคา ซึ่งราคาตลาดถุกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้ซื้อจำนวนมาก ผู้ขายจำนวนมาก ณ ช่วงเวลาหนึ่งเช่น ช่วงต้นฤดูทุเรียนหมอนทอง ราคากิโลกรัมละ 40 บาท ผู้ซื้อต้องการซื้อ 200 ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์ ในขณะที่ผู้ขายต้องการขาย 200 ล้านกิโลกรัม/ สัปดาห์ เช่นกัน ไม่มีของเหลือของขาด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างพอใจในภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ราคาตลาดดังกล่าวเป็นราคาดุลยภาพ และราคาตลาดนี้จะเปลียนแปลงไปถ้าอุปสงค์
หรืออุปทานเปลี่ยน หรือเปลี่ยนทั้งอุปสงค์และอุปทาน

กลไกราคา

ราคาสินค้า คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการทำการผลิตได้และนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เช่น นาย ก. ผลิตปากกาออกขายให้แก่นักเรียนในราคาด้ามละ 5 บาท เป็นต้น ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งการผลิตการบริโภคส่วนใหญ่เป็นเรื่องของภาคเอกชน โดยผ่านกลไกของราคานั้น ราคาสินค้าและบริการจะทำหน้าที่ 3 ประการ คือ


กำหนดมูลค่าของสินค้า ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ใช้เงินเป็นสื่อกลาง ราคาจะทำหน้าที่กำหนดมูลค่า เพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าในมูลค่าที่คุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เขาจะต้องเสียไป ราคาสินค้าบางแห่งก็กำหนดไว้แน่นอนตายตัว แต่บางแห่งก็ตั้งไว้เผื่อต่อ เพื่อให้ผู้ซื้อต่อรองราคาได้

กำหนดปริมาณสินค้า ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันนั้นถ้าสินค้ามีราคาถูก ผู้ซื้อจะซื้อปริมาณมากขึ้นส่วนผู้ขายจะเสนอขายในปริมาณน้อยลง แต่ถ้าสินค้ามีราคาแพงผู้ซื้อจะซื้อปริมาณน้อยลงส่วนผู้ขายจะขายในปริมาณมากขึ้น ราคาจึงเป็นตัวกำหนดปริมาณสินค้าที่จะซื้อขายกัน

กำหนดปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเอกชนนั้น จะมีปัญหาว่าผู้ผลิตควรจะผลิตในปริมาณสักเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้เขาได้กำไรสูงสุดตามที่ต้องการ โดยสังเกตความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ของสินค้าที่เราทำการผลิตในระดับราคาต่างๆ กันเพื่อหา ดุลยภาพ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะทำการซื้อขายกันในปริมาณและราคาที่ตรงกัน ปริมาณที่มีการซื้อขาย ณจุดดุลยภาพ เรียกว่า ปริมาณดุลยภาพ และผู้ซื้อมีความต้องการซื้อ ส่วนราคาที่ดุลยภาพ เรียกว่า ราคาดุลยภาพ อันเป็นราคาที่ผู้ผลิตควรพิจารณาในการตั้งราคาขาย

กลไกราคา (price mechanism) หมายถึง ตัวกำหนดการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจทีมีปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคา คือ อุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply)

อุปสงค์ (Demand) คือ ปริมาณความต้องการซิ้อสินค้าและบริการของผู้ซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน ความต้องการซื้อจะแตกต่างจากความต้องการทั่วไป (want) แต่จะต้องรวมอำนาจซื้อ (purchasing power) คือ เต็มใจและมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายซื้อสินค้านั้นด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณความต้องการซื้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยกำหนดอุปสงค์ตัวอื่นๆ เปลี่ยนแปลงด้วย เช่น รายได้ของผู้ซื้อ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น

อุปทาน (supply) คือ ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กันโดยผู้ขายเต็มใจจะขาย กล่าวคือ ถ้าราคาต่ำปริมาณที่เสนอขายก็จะลดต่ำลงด้วย และใน่ทางตรงกันข้าม หากระดับราคาสูงขึ้นก็จะมีปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม กฎของอุปทาน (Law of Supply) ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต ราคาของปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล การคาคคะเนราคาสินค้าและบริการของผู้ขาย

ตลาด ตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ จะกว้างกว่าความหมายทั่ว ๆ ไปที่เป็นสถานที่ที่มีผู้ขายจำนวนมากนำสินค้ามาวางขาย แต่ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์จะเกิดขึ้นทันที่ที่มีการตกลงซื่อขายกัน ต่อรองราคาหรือมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่จำเป็นต้องมีสินค้าและบริการปรากฏอยู่ ณ สถานที่นั้น

องค์ประกอบของตลาดจะประกอบด้วย ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า และ ราคา ซึ่งอาจจะมีพ่อค้าคนกลางร่วมด้วย ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารได้ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยอาศัยคนกลางน้อยลง นอกจากนี้ความสะดวกสบายรวดเร็วของสื่อที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าก็ทำได้คล่องตัวขึ้น เช่น ระบบเครดิต เป็นต้น

ระบบตลาดขึ้นอยู่กับกลไกราคา ซึ่งราคาตลาดถุกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้ซื้อจำนวนมาก ผู้ขายจำนวนมาก ณ ช่วงเวลาหนึ่งเช่น ช่วงต้นฤดูทุเรียนหมอนทอง ราคากิโลกรัมละ 40 บาท ผู้ซื้อต้องการซื้อ 200 ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์ ในขณะที่ผู้ขายต้องการขาย 200 ล้านกิโลกรัม/ สัปดาห์ เช่นกัน ไม่มีของเหลือของขาด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างพอใจในภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ราคาตลาดดังกล่าวเป็นราคาดุลยภาพ และราคาตลาดนี้จะเปลียนแปลงไปถ้าอุปสงค์
หรืออุปทานเปลี่ยน หรือเปลี่ยนทั้งอุปสงค์และอุปทาน